HRI Round Table Online Event Vol.2
(การทำงานร่วมกันกับชาวญี่ปุ่น)

Guest speaker

ศุภชัย พัฒนวิหค

(คุณบอย)

HRI (Thailand) Co., Ltd.

ตำแหน่ง : Senior Consultant

Atipat2

อธิปัตย์ วัฒนสถิตย์นุกูล

(คุณนอร์ท)

JAC Recruitment Thailand

ตำแหน่ง : HR and

Administrative Officer

ประสบการณ์ทำงาน : 2.3 ปี

IMG_2429 (1)

ศรีอัมพร อ้นอำพล

(คุณเก๋)

Toyota Tsusho Nexty

Electronics Thailand Co., Ltd.

ตำแหน่ง : Talents and

Organization Development

Group Manager

ประสบการณ์ทำงาน : 9 ปี

Ms.A

ปรารถนา  ทองเติม

(คุณเอ)

Thai Okawa Co., Ltd.

ตำแหน่ง : Recruitment and

Training officer

ประสบการณ์ทำงาน : 12 ปี

 

กิจกรรม HRI Round Table Online Discussion

           ในครั้งนี้ ทางบริษัท HRI Thailand ได้รับความร่วมมือจาก Guests Speaker ให้เกียรติมาร่วมพูดคุยเล่าเรื่องราว ประสบการณ์การทำงานจาก                    สายงานต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ สายการผลิต, IT และด้านจัดหาบุคลากร

           จุดประสงค์หลักๆ ของการจัดกิจกรรมนี้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และข้อมูลระหว่างองค์กรที่แตกต่างกันในการจัดการ และการพัฒนา      บุคลากรในองค์กรญี่ปุ่น 

           แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ทั้ง 3 ท่านได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเรา แต่ก็สามารถทำให้เข้าใจและได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่จะสามารถนำไปปรับใช้     ในการทำงานได้ด้วยเช่นกัน ในส่วนของบทความในครั้งนี้ เราได้สรุปสาระสำคัญที่น่าสนใจมาให้แล้ว                                                                                                                               

http://www.pdf-tools.com

มุมมองของคนญี่ปุ่นที่มีต่อคนไทยในการทำงานร่วมกัน....คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมองว่าทำงานกับคนไทยแล้ว คนไทยมักจะขาดในเรื่องของการมองเห็น หรือภาพใหญ่ในการทำงาน แต่ละท่านมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง?

คุณเอ : ถ้าในความเห็นคือ ในวัฒนธรรมการทำงานของคนไทย คนไทยเองบางครั้งก็จะใช้ความเคยชินในการทำงาน มากกว่าการมองภาพใหญ่ในการทำงาน คนไทยบางกลุ่มยังคงอยู่ใน Comfort Zone
ทำตาม Step ของการทำงานที่สอนๆกันมา คนก็ทำตามๆกันมา โดยมองว่าไม่จำเป็นต้องคิดอะไรที่
นอกเหนือจากที่เราเคยทำก็ได้ แต่ในมุมมองของคนญี่ปุ่น อาจจะอยากให้คนไทยได้ลองคิดอะไร
เพิ่มเติมมากกว่าเดิมหรือที่เคยทำอยู่ คิดให้กว้างขึ้นเพื่อให้ตัวเองได้พัฒนามากขึ้นด้วย

Ms.A

คุณเก๋ : เห็นด้วย 50% ค่ะ เรื่องบางเรื่องคนญี่ปุ่นเองก็อาจจะลืมแจ้งจุดประสงค์ที่ชัดเจนของงานนั้นๆให้คนไทยเข้าใจก่อนด้วย บางทีคนญี่ปุ่นก็ข้ามการแจ้งวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนก่อนการสั่งงาน
และในเรื่องของช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมในการทำงานที่ค่อนข้างจะแตกต่างกัน คนไทยเองบางครั้ง
ก็อาจจะจับจุดไม่ได้ด้วยว่างานนี้คนญี่ปุ่นต้องการอะไร มันก็ต้องปรับด้วยกันทั้งสองฝ่าย หรือทุกคนควรลองเอาเรื่อง PREP มาใช้ในการทำงานกันได้น่าจะดี แล้วการ Take Action ของคนไทยกับคนญี่ปุ่นก็แตกต่างกันด้วย อาจจะต้องทำความเข้าใจและเข้าหากันคนละครึ่งทาง

IMG_2429 (1)

คุณนอร์ท : คิดว่าสิ่งสำคัญคือการมองในส่วนของผลลัพธ์ของงานนั้นๆ และการทำให้อีกฝ่ายสามารถเข้าใจองค์กรได้มากน้อยแค่ไหน เมื่อสามารถอธิบายได้ถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นส่งผลดีมากเพียงใด
ก็ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้ผลลัพธ์ที่สูงมากขึ้น

Atipat
http://www.pdf-tools.com

จากความคิดที่เกิดขึ้น สามารถมีแนวทางแก้ไข หรือการปรับตัวในเรื่องการทำงานระหว่างคนไทย
กับคนญี่ปุ่นอย่างไรได้บ้าง?

คุณนอร์ท : เพิ่มในส่วนของการพูดคุย รายทีม หรือรายบุคคล ว่าสิ่งที่เขาต้องการจริงๆแล้วคืออะไร และมองในเรื่องของนโยบายขององค์กรหรือ KPI ในแต่ละเรื่องอย่างไร มีความคิดเห็นหรืออยากปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง เรื่องของการทำแบบสอบถามก็อาจจะช่วยได้ แล้วมองหาสิ่งที่สามารถ Match
เข้าหากันได้ แล้วสร้างเป็นโปรเจคใหม่ร่วมกัน

Atipat

คุณเอ : เรื่องการสื่อสารต่างวัฒนธรรมเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ร่วมกัน

Ms.A

คุณเก๋ : เรื่องของการสื่อสารและการเปิดใจซึ่งกันและกัน ถ้าคนญี่ปุ่นตั้งแง่ใส่คนไทย หรือคนไทยตั้งแง่กับคนญี่ปุ่น การทำงานก็ไม่สามารถเป็นไปได้อย่างราบรื่น

IMG_2429 (1)

(จากซ้าย) คุณบอย คุณเอ และ คุณนอร์ท ระหว่างการพูดคุยผ่านโปรแกรม zoom

http://www.pdf-tools.com

แล้วที่คนญี่ปุ่นชอบพูดว่า คนไทยมักหาข้อสรุปไม่ได้ หรือไม่สามารถตัดสินใจอะไรในการทำงานได้ด้วยตัวเอง แต่ละท่านคิดอย่างไรกันบ้าง?

คุณเก๋ : เรื่องของการตัดสินใจ ส่วนใหญ่ในองค์กรคนตัดสินใจคือคนญี่ปุ่น ด้วยเรื่องของระบบองค์กรและตำแหน่ง ทางฝั่งคนไทยก็จะเป็นผู้ให้ข้อมูลซัพพอร์ตในการตัดสินใจ บางครั้งที่เราให้ตัวเลือกในการตัดสินใจไป แล้วคนญี่ปุ่นตอบมาแค่ ‘iiyo iiyo’(ดีแล้วๆ) บางครั้งก็ทำให้รู้สึกว่าเราอยากได้รับ Feedback การตัดสินใจของเรา มากกว่าแค่การเปิดโอกาสให้ตัดสินใจและให้เรื่องนั้นๆผ่านไปได้
บางครั้งเราก็อยากได้ไอเดียของคนญี่ปุ่นมาเพิ่มเติมด้วย

IMG_2429 (1)

คุณนอร์ท : อยู่ในเรื่องของขอบเขตในการให้การตัดสินใจมากกว่า เช่น การคุยกับคนญี่ปุ่น ส่วนมาก
การตัดสินใจก็จะมาจากทางฝั่งคนญี่ปุ่นอยู่แล้ว อาจจะต้องมีการคอนเฟิร์มกันว่า ในเรื่องๆนี้ใครจะเป็นหัวหน้าในการตัดสินใจ ซึ่งจะเป็นการมองในเรื่องของความถนัดของแต่ละคน สมมติว่าคนนี้ถนัดด้านนี้มากๆ เราก็ให้เขาเข้ามาเป็นหัวหน้าในการตัดสินใจ ขึ้นมาเป็นผู้นำ สำหรับผม คิดว่าถ้าการหาข้อสรุปหรือการตัดสินใจเป็นเรื่องของข้อเท็จจริง จะสามารถทำได้ง่ายกว่าการหาข้อสรุปที่เกี่ยวข้องกับ
ความรู้สึก เพราะเราไม่สามารถบริหารความพึงพอใจของทุกคนในงานนั้นๆได้ นี่คือจุดที่ยากที่แท้จริง

Atipat

คุณเก๋ : เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เพราะบางทีคนที่เป็นหัวหน้าก็ปักธงในใจไว้แล้วในสิ่งที่เขาต้องการ
คือคิดว่าทุกคนผ่านประสบการณ์นี้กันมาหมด

IMG_2429 (1)

คุณนอร์ท : ข้อสรุปที่ใช้ความรู้สึกเป็นตัวตัดสิน คือสิ่งที่ทำให้งานดำเนินไปได้ยาก

Atipat

คุณเอ : ไม่ว่าจะหัวหน้าคนไทยหรือคนญี่ปุ่น บางอย่างถ้าสามารถตัดสินใจได้เลยทันที
ก็จะตัดสินใจ แต่ด้วยตำแหน่งหรืออำนาจในการตัดสินใจอาจจะไม่ได้อยู่ที่ตัวเรา มันก็อาจจะทำได้ยาก
ยกตัวอย่างเช่น บางอย่างถ้าคนไทยตัดสินใจเองไปแล้ว กลายเป็นไม่ถูกใจ คนไทยก็อาจจะต้องเตรียมทางเลือกหลายๆทางเอาไว้ด้วย

Ms.A
http://www.pdf-tools.com

ในฐานะที่ทั้ง 3 ท่านมีประสบการณ์ทำงานในองค์กรญี่ปุ่น อยากให้ทุกท่านลองแชร์ว่าในการทำงานกับคนญี่ปุ่น คนไทยควรจะต้องปรับตัวหรือมีอะไรที่อยากจะแนะนำบ้าง และมีจุดไหนที่เราอยากให้คนญี่ปุ่นปรับตัวเข้าหาคนไทยบ้าง? เพื่อให้การทำงานของทั้งสองฝ่ายทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

คุณเก๋ : ที่คนไทยควรต้องมี คือเรื่อง HORENSO เราอาจจะยังทำเรื่องนี้ได้ไม่ดีเท่ากับที่คนญี่ปุ่น
คาดหวัง คนไทยใช้ความรู้สึกค่อนข้างเยอะ การทำเรื่อง HORENSO อาจจะยังไม่ดีพอ ส่วนสิ่งที่อยากให้คนญี่ปุ่นปรับจะเป็นในเรื่องของความรู้สึก คนญี่ปุ่นจะมีวัฒนธรรมในการรักษาน้ำใจ หรือเกรงใจ ซึ่งคนญี่ปุ่นเวลาให้ Feedback จะไม่พูดกันตรงๆ ถ้าคุยกันด้วยหลักเหตุและผลกันตรงๆน่าจะดีกว่าเพื่อการทำงานที่ดีขึ้นของทั้งสองฝ่าย

IMG_2429 (1)

คุณนอร์ท : Trust คือสิ่งสำคัญ การยอมรับซึ่งกันและกัน ต่อให้จะต่างสัญชาติ ต่างวัฒนธรรม แต่สามารถสร้างความไว้ใจและความเชื่อใจให้กันและกันได้ เราจำเป็นต้องยอมรับการทำงานของกันและกัน
สิ่งนี้จะนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จ แต่เรื่องของการสร้างความไว้วางใจก็ไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถทำได้ง่ายๆ จำเป็นต้องใช้เวลา ถ้าวันหนึ่งเราสามารถพิสูจน์ความสามารถและสร้างความไว้วางใจได้แล้ว
คนที่ทำงานกับเราจะ Follow เราโดยไม่มีข้อแม้ นี่คือเรื่องของความไว้วางใจ

Atipat

คุณเอ : ถ้าคนไทยจำเป็นต้องมีการพูดคุย หรือประชุมใดๆ อาจจะต้องมีการเตรียมข้อมูล
เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆไว้คอยตอบคำถามหรือซัพพอร์ตให้ได้ เราต้องรู้จริงในการนำเสนอเรื่องนั้นๆ
ในด้านคนญี่ปุ่นก็อาจจะเป็นเรื่องของการให้เวลากับคนไทย เช่น เรื่องด่วน หรือการตัดสินใจที่เร่งด่วน อาจจะต้องให้เวลาคนไทยไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อซัพพอร์ต เรื่องของการเตรียมตัว การประสานงานต่างๆ คนไทยอาจจะยังไม่พร้อม

Ms.A
colleagues-giving-fist-bump (1)

     จากกิจกรรม Round Table ในครั้งนี้ หวังว่าทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความ จะสามารถสร้างความเข้าใจและรับรู้ถึง   ความคิดในการทำงานร่วมกันระหว่างชาวญี่ปุ่นและชาวไทยได้ดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง หวังว่า สามารถนำความรู้ เรื่องราวและ   ประสบการณ์ต่างๆ ที่ผู้เข้าร่วมแชร์ให้ มาปรับใช้และพัฒนาในองค์กรตนเองให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ท่านใดสนใจกิจกรรมดีๆ แบบนี้ และอยากร่วมแชร์ประสบการณ์กับเรา สามารถสมัครมาร่วมพูดคุยกับเราได้ทาง [email protected]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า